พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ถัวเฉลี่ยหุ้นอย่างมืออาชีพ


พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ถัวเฉลี่ยหุ้นอย่างมืออาชีพ

มือใหม่อ่านตั้งแต่ข้อ 1 มือเก๋าอ่านข้อตั้งแต่ข้อ 3 ได้เลย แถมเครื่องมือคำนวณถัวเฉลี่ยหุ้นในช่วงท้ายบทความครับ


1. ถัวเฉลี่ยหุ้นคืออะไร?


สำหรับคนที่ยังมือใหม่ นี่เป็นเรื่องที่คุณควรทำความเข้าใจครับ เพราะคุณจะได้เห็นการถัวเฉลี่ยทันทีที่คุณซื้อหุ้นตัวเดิมเพิ่ม เมื่อดูในพอร์ทของคุณ ระบบจะไม่แสดงรายการการซื้อหุ้นตัวเดิมแยกตามคำสั่งซื้อ แต่จะแสดงรายการการซื้อหุ้นนั้นรายการเดียว โดยราคาหุ้นที่ซื้อเพิ่มกับราคาหุ้นเดิมจะถูกคำนวณกลายเป็นราคาหุ้นเฉลี่ย จำนวนหุ้นและมูลค่าที่ซื้อเพิ่มจะถูกรวมกับของเดิม


ตัวอย่างเช่น


คุณซื้อหุ้น X ราคา 10 บาท จำนวน 10,000 หุ้น
พอร์ทของคุณจะแสดงผลแบบนี้

หุ้น
ราคา(หุ้น)
จำนวน(บาท)
รวมมูลค่า(บาท)
X
10
10,000
100,000


ต่อมาราคาหุ้นนั้นตกมาอยู่ที่ 5 บาท คุณจึงซื้อหุ้นนั้นเพิ่ม 10,000 หุ้น
พอร์ทของคุณจะไม่แสดงผลแบบนี้

หุ้น
ราคา(บาท)
จำนวน(หุ้น)
รวมมูลค่า(บาท)
X
10
10,000
100,000
X
5
10,000
50,000


แต่จะแสดงผลแบบนี้ครับ

หุ้น
ราคา(บาท)
จำนวน(หุ้น)
รวมมูลค่า(บาท)
X
7.5
20,000
150,000


เห็นความแตกต่างแล้วนะครับ ไม่ว่าคุณจะซื้อหุ้นตัวเดิมเพิ่มกี่ครั้ง ระบบจะแสดงผลเพียงรายการเดียวที่ราคาหุ้นถูกคำนวณถัวเฉลี่ยไว้เรียบร้อยแล้ว นี่แหละครับการถัวเฉลี่ยหุ้น


2. ทำไมต้องถัวเฉลี่ยหุ้น?


คำตอบง่ายๆ เลยคือ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายทำกำไรครับ


ต่อจากตัวอย่างก่อนหน้า
ต่อมาราคาหุ้นนั้นขึ้นมาอยู่ที่ 8 บาท
คุณจึงขายหุ้นนั้นที่ราคา 8 บาท จำนวน 20,000 หุ้น


ได้กำไร (8 - 7.5) x 20000 = 10,000 บาท


ถ้าคุณไม่ได้ซื้อหุ้นเพิ่มไว้ตอนราคา 5 บาท พอร์ทคุณจะยังคงมีหุ้นนั้นราคา 10 บาท ซึ่งขายทำกำไรไม่ได้


อธิบายง่ายๆ ก็คือการถัวเฉลี่ยทำให้หุ้นที่คุณถือมีราคาต่ำลงนั่นเองครับ กรณีที่คุณกำลัง “ติดดอย” (คือการถือหุ้นราคาสูงกว่าราคาตลาด ถ้าดูกราฟ ราคาที่คุณถืออาจอยู่ที่จุดยอดใดยอดหนึ่ง เหมือนคุณอยู่บนยอดสุดของภูเขาหรือดอยนั่นเองครับ) ยิ่งคุณถัวเฉลี่ยหุ้นนั้นให้ราคาต่ำลงมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสที่ราคาตลาดจะขึ้นมาเหนือราคาที่คุณถือ และขายทำกำไรได้ในที่สุดครับ


3. คำนวณถัวเฉลี่ยหุ้นอย่างไร?


แน่นอนว่าถ้าคุณซื้อหุ้นเพิ่มที่จำนวนเท่าเดิมกับที่เคยซื้อไว้ วิธีคำนวณราคาถัวเฉลี่ยนั้นก็แค่นำราคาหุ้นเดิมกับราคาหุ้นที่จะซื้อเพิ่มมาบวกกันแล้วหาร 2 ก็ได้คำตอบแล้ว ง่ายๆ แค่นั้นแหลครับ..


แต่..


ถ้าซื้อหุ้นเพิ่มที่จำนวนไม่เท่ากับที่มีอยู่เดิมล่ะ?


จากตัวอย่างแรกสุด
คุณซื้อหุ้น X ราคา 10 บาท จำนวน 10,000 หุ้น
ต่อมาราคาหุ้นนั้นตกมาอยู่ที่ 5 บาท ถ้าคุณไม่ได้ซื้อหุ้นนั้นเพิ่ม 10,000 หุ้น
แต่เป็น 7,000 หุ้น
จะถัวเฉลี่ยเหลือราคาเท่าไร?


ติ๊ก ต่อก ๆ ๆ
…..


“ซื้อๆ ไปเถอะ ราคาที่เราซื้อมันต่ำกว่าราคาเดิม ยังไงราคาเฉลี่ยมันก็ต้องต่ำลงอยู่แล้วล่ะ”
สำหรับใครที่คิดแบบนี้ ผมขอบอกเลยครับว่าถ้าได้เห็นราคาถัวเฉลี่ยจริงเทียบกับราคาที่คุณคาดหวังไว้
คุณจะต้องโอดครวญแน่ๆ ว่า “ราคาที่ได้นี่มันแทบไม่ต่างจากก่อนหน้านี้เลยนี่นา!”


และถ้าใช้กลยุทธ์ในระดับสูงขึ้น
จากตัวอย่างแรกสุด (อีกเช่นเคย)
คุณซื้อหุ้น X ราคา 10 บาท จำนวน 10,000 หุ้น
ต่อมาราคาหุ้นนั้นตกมาอยู่ที่ 5 บาท
ถ้าคุณต้องการให้ราคาถัวเฉลี่ยเท่ากับ 4 บาท จะต้องซื้อจำนวนกี่หุ้น?


หรือ


จากตัวอย่างแรกสุด (เหมือนเดิม)
คุณซื้อหุ้น X ราคา 10 บาท จำนวน 10,000 หุ้น
ถ้าคุณต้องการซื้อเพิ่มภายในงบ 7,000 บาท และให้ราคาถัวเฉลี่ยเท่ากับ 4 บาท
จะต้องซื้อที่ราคาเท่าไร?




ยังมีกลยุทธ์สำหรับการถัวเฉลี่ยอีกหลายวิธี แต่เอาแค่ 2 ตัวอย่างนี้ก็คำนวณอ้วกแตกแล้วใช่มั้ยครับ


อย่าเพิ่งตื่นตระหนกไปครับ ทำความเข้าใจกับตัวอย่างที่ยกมานี้ให้ได้ก็พอ เพราะตัวอย่างเหล่านี้มักเป็นกรณีที่คุณอาจต้องใช้เมื่อหุ้นที่คุณซื้อเริ่มราคาตก ถ้าคุณไม่เข้าใจวิธีการคิดเหล่านี้ อาจจะ “ติดดอย” ไปอีกนาน
ส่วนเรื่องการคำนวณนั้นผมมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แล้ว นั่นก็คือเว็บนี้ครับ http://www.tuahoon.com




Tuahoon อ่านว่า “ถัวหุ้น” เป็นเว็บสำหรับคำนวณถัวเฉลี่ยหุ้นที่สามารถคำนวณการถัวเฉลี่ยได้ทุกรูปแบบ...


» ถัวเฉลี่ยเหลือราคาหุ้นละเท่าไร
» ซื้อราคาหุ้นละเท่าไร เพื่อถัวเฉลี่ยเหลือราคาที่ต้องการ
» ซื้อจำนวนกี่หุ้น เพื่อถัวเฉลี่ยเหลือราคาที่ต้องการ
» ใช้เงินเท่าไร เพื่อถัวเฉลี่ยเหลือราคาที่ต้องการ
จบทุกคำตอบด้วยเว็บนี้เลยครับ


นี่คือโฉมหน้าเว็บ Tuahoon ครับ

final-0001.png


วิธีการใช้งานง่ายมากๆ ครับ จากรูปหน้าเว็บนี้จะเห็นช่องใส่ค่าสีดำกับสีเทา คุณแค่ใส่ค่าในช่องสีดำ โดยเว้นช่องที่คุณต้องการคำตอบไว้ช่องเดียว แล้วคลิกคำนวณ ทุกช่องที่เหลือทั้งสีดำและเทาจะปรากฏค่าผลลัพธ์ทันทีครับ ง่ายกว่าคำนวณเองสิบเท่าแน่นอน และที่สำคัญคือ “ฟรี” ครับ

จบแล้วครับสำหรับบทความนี้ หวังว่าคุณผู้อ่านจะได้เครื่องมือดีๆ ไปใช้งาน และทำกำไรจากการถัวเฉลี่ยหุ้นอย่างยอดเยี่ยม สุดท้ายนี้ การคาดการณ์ว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือลงไปอยู่ที่เท่าไหร่ เป็นเรื่องที่คุณผู้อ่านต้องศึกษาหาความรู้กันต่อไป ขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบนะครับ

Share this

Related Posts

Latest