แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Others แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Others แสดงบทความทั้งหมด

พุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?




หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักการวิทยาศาสตร์
หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์มีทั้งส่วนสอดคล้องกันและส่วนที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้
1.  ความสอดคล้องกัน
1.1  ในด้านความเชื่อ วิทยาศาสตร์ถือหลักว่าก่อนจะเชื่ออะไรนั้นจะต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงได้เสียก่อน วิทยาศาสตร์เชื่อในเหตุผล ไม่เชื่ออะไรลอย ๆ และต้องการหลักฐานมายืนยัน วิทยาศาสตร์ไม่อาศัยศรัทธาแต่อาศัยเหตุผล เชื่อการทดลองว่าให้ความจริงแก่เราได้ แต่ไม่เชื่อการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะทุกอย่างดำเนินอย่างมีกฎเกณฑ์ มีเหตุผล และวิทยาศาสตร์อาศัยปัญญาและเหตุผลที่ตัวตัดสินความจริง
พระพุทธศาสนาก็มีหลักความเชื่อเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ ดังหลักคำสอนที่ปรากฏในการลามสูตร พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า การจะเชื่ออะไรแก่ไหนนั้นจะต้องทดลองพิสูจน์ด้วยตนเอง โดยอาศัยสติ ปัญญาและเหตุผล แต่อย่างเชื่อโดยวิธีดังต่อไปนี้ คือ
(1)  อย่าเพิ่งปลงในเชื่อเพียงเพราะการฟังตามกันมา
(2)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการถือสืบ ๆ กันมา
(3)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการเล่าลือ
(4)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการอ้างคัมภีร์
(5)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะนึกคิดเอาเอง
(6)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการคาดคะเนเอา
(7)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการตรึกตรอง
(8)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะตรงกับความเห็นของตน
(9)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะรูปลักษณะน่าเชื่อ
(10)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะท่านเป็นครูของเรา
และพระองค์ทรงสอนต่อไปว่า เมื่อใดที่เราอาศัยปัญญาทดสอบด้วยตนเองแล้วเห็นว่าคำสอนใดเป็นคำสอนที่ดีมีคุณประโยชน์แล้วจึงค่อยเชื่อ ทรงสอนมิให้เชื่ออย่างงมงาย แต่เน้นการทดสอบและปฏิบัติ เมื่อทดสอบได้ผลทางปฏิบัติแล้วจึงเชื่อ
พระพุทธศาสนาสอนเรื่องศรัทธาเหมือนกัน แต่ศรัทธามิใช่วิธีสุดท้ายที่จะตัดสินว่าความจริงคืออะไร ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นเพียงเครื่องชักจูงให้คนเข้าไปทดสอบความจริง แต่ตัวที่ตัดสินความจริงคือ “ปัญญา” ในคำสอนเรื่องมรรคมีองค์ 8 อันเป็นหนทางที่จะพามนุษย์ไปสู่นิพพาน ซึ่งเป็นความจริงอันสูงสุดนั้น ไม่ปรากฏว่ามีศรัทธาอยู่ด้วย ในการสอนหลักธรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนนั้น หากในหลักธรรมใดมีศรัทธาอยู่อยู่จะต้องมีปัญญากำกับอยู่เสมอ เช่น พละ 5 มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ในหลักอริยทรัพย์มีศรัทธา ศีล หิริโอตตับปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา เป็นต้น
1.2  ในด้านความรู้ ทั้งวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนายอมรับความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ “ประสบการณ์” หมายถึง การที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้ประสบกับความรู้สึกนึกคิดบางอย่างด้วย เช่น รู้สึกดีใจ รู้สึกอยากได้ เป็นต้น วิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากประสบการณ์ คือ จากการที่ได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆ แล้วเกิดความอยากรู้อยากเห็นก็แสวงหาคำอธิบาย วิทยาศาสตร์จะไม่เชื่อหรือยึดถืออะไรล่วงหน้าอย่างตายตัว แต่จะอาศัยการทดสอบด้วยประสบการณ์สืบสาวไปเรื่อย ๆ จะไม่อ้างอิงถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือประสบการณ์และการทดลอง
พระพุทธองค์ก็ทรงเริ่มคิดจากประสบการณ์ คือ ประสบการณ์ที่ได้เห็นความเจ็บ ความแก่ ความตาย และที่สำคัญที่สุดคือ ความทุกข์ พระองค์มีพระประสงค์ที่จะค้นหาสาเหตุของทุกข์ ในการค้นหานี้พระองค์มิได้เชื่ออะไรล่วงหน้าอย่างตายตัว ไม่ทรงเชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่จะให้คำตอบได้ แต่ได้ทรงทดลองโดยอาศัยประสบการณ์ของพระองค์เอง ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์มีส่วนหนึ่งที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยในเรื่องนี้ คือ วิทยาศาสตร์เน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ด้านประสาทสัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ส่วนพระพุทธศาสนาเน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ทางจิตใจ

2.  ความแตกต่าง
2.1  มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
– วิทยาศาสตร์มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ต้องการรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุอะไรเป็นผลที่ตามมา เช่น เมื่อเกิดฟ้าผ่าขึ้น ต้องรู้ว่าอะไรคือสาเหตุของฟ้าผ่า และผลที่ตามมาหลังจากฟ้าผ่าแล้วจะเป็นอย่างไร
– พระพุทธศาสนาก็มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน แต่ต่างตรงที่พระพุทธศาสนาเน้นเป็นพิเศษเกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์มากกว่ากฎเกี่ยวกับสิ่งที่ไร้ชีวิต จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาคือสอนให้คนเป็นคนดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น
2.2  ต้องการเรียนกฎธรรมชาติ
– วิทยาศาสตร์ต้องการเรียนรู้กฎธรรมชาติและหาทางควบคุมธรรมชาติหรือเอาชนะธรรมชาติ พูดอีกนัยหนึ่ง วิทยาศาสตร์เน้นการควบคุมธรรมชาติภายนอก
– แต่พระพุทธศาสนาสอนให้คนควบคุมภายในจิตใจตัวเอง ลำดับแต่ความสามารถที่ควบคุมธรรมชาติได้ ไม่อาจทำให้ความสงบสุขเกิดขึ้นในโลกมนุษย์ มนุษย์ต้องรู้จักควบคุมตัวเองให้มีจิตใจดีงามด้วย สันติสุขที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้
วิทยาศาสตร์มุ่งปรับธรรมชาติ แต่พระพุทธศาสนามุ่งปรับจิตใจคน
2.3 ยอมรับโลกแห่งสสาร
– วิทยาศาสตร์ยอมรับโลกแห่งสสารที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ว่ามีจริง โลกที่อยู่พ้นจากนั้นวิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับ (ซึ่งความจริงวิทยาศาสตร์มิได้ปฏิเสธ เพียงแต่ยังไม่ยอมรับ เพราะวิทยาศาสตร์เชื่อว่าประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือสุดท้ายที่จะตัดสินความจริง
– ส่วนพระพุทธศาสนาชี้ว่ามีสัจธรรมสูงสุด (นิพพาน) ซึ่งเป็นสภาวะที่ประสาทสัมผัสของมนุษย์ปุถุชนที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหาไม่สามารถจะรับรู้ได้ พระพุทธศาสนาแบ่งสิ่งที่มีอยู่จริงสองพวกใหญ่ ๆ คือ “สังขตธรรม” (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง) และ “อสังขตธรรม” (สิ่งที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง) คือนิพพาน
วิทยาศาสตร์ยอมรับว่าสังขตธรรมนั้นมีจริง แต่อนังขตธรรมอยู่เหนือการรับรู้ของวิทยาศาสตร์
ส่วนสัจธรรมสนพระพุทธศาสนานั้น มีทั้งที่สามารถแสดงให้ประจักษ์เป็นสาธารณะได้ และไม่สามารถแสดงให้ประจักษ์เป็นสาธารณะ แต่แสดงโดยการประจักษ์ใจตนเองได้ (หมายถึง มีทั้งที่เราสามารถรับรู้ด้วยตาและรับรู้ด้วยใจ) ความจริงระดับต้น ๆ และรับกลาง ใคร ๆ ก็อาจเข้าใจและเห็นจริงได้ เช่น คนที่โลภมาก ๆ อิจฉาริษยาเขามาก ๆ ไม่มีความสงบสุขแห่งจิตใจอย่างไรบ้าง คนที่มีเมตตาไม่ปรารถนาร้ายต่อใคร ๆ มีความสุขไม่มีเวรไม่มีภัยอย่างไรบ้าง ความจริงเหล่านี้ล้วนสามารถแสดงให้ประจักษ์ได้ชี้ให้ดูตัวอย่างได้ แต่ปรมัตถธรรมอันสูงสุดนั้นผู้ที่ได้พบแล้วยากจะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ เป็นสภาวะที่ผู้รู้เองเห็นจะพึงประจักษ์เฉพาะตัว
2.4  มุ่งความจริงมาตีแผ่ วิทยาศาสตร์นั้นมิได้สนใจเรื่องศีลธรรมเรื่องความดีความชั่ว สนใจเพียงค้นเอาความจริงมาตีแผ่ให้ประจักษ์เพียงอย่างเดียว เช่น วิทยาศาสตร์ค้นพบเรื่องการระเบิด แต่ควรระเบิดอะไร ไม่ควรระเบิดอะไร ไม่อยู่ในขอบข่ายวิทยาศาสตร์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์จึงมีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์
ส่วนคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นเน้นเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว มุ่งให้มนุษย์มีความสุขเป็นลำดับขั้นไปเรื่อง ๆ จนถึงความสงบสุขอันสูงสุดคือนิพพาน


ขอบคุณแหล่งข้อมูล : https://goo.gl/ExWm2K

ใครที่อยากอยู่ตอนแต่ง กรุณาอ่านบทความนี้!


ใครที่อยากอยู่ก่อนแต่ง กรุณาฟังทางนี้ !

....ด้วยภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้รูปแบบของการคบหา หรือการใช้ชีวิตคู่ของหนุ่มสาวมีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ชั่วข้ามคืน หรือ One nigh stand การเปลี่ยนคู่ควงบ่อยๆ รวมถึงการทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่ง ซึ่งอาจเกิดจากความไม่พร้อมที่จะสร้างครอบครัว  แต่อยากทดลองใช้ชีวิตด้วยกันเพื่อดูนิสัยใจคอกันก่อน

อย่างไรก็ตาม คุณเป็นผู้เลือกวิถีการดำเนินชีวิต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะจ้องรับผลที่ตามมาได้ สิ่งที่คู่รักต้องเผชิญ หากเลือกจะอยู่ก่อนแต่งมีดังต่อไปนี้ 

จะแยกทางกันเมื่อไหร่ก็ได้

...เนื่องจากมีความผูกพันทางกาย แต่ไม่ผูกพันทางกฎหมาย เหมือนคนสองคนถูกใจกัน แล้วย้ายมาอยู่ด้วยกัน ไม่ต้องผ่านปัญหา ไม่ต้องเจออุปสรรคอะไรมากมาย แถมผู้หญิงยังเป็นฝ่ายเสียเปรียบด้วยซ้ำ หากเจอผู้ชายที่หวังเอาเปรียบคุณ ในเมื่อถูกใจกันง่าย ก็เลิกรากันได้ง่ายๆ เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องถนอมความสัมพันธ์ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

สังคมไม่ให้การยอมรับ
...โดยเฉพาะจากผู้ใหญ่ เนื่องจากสังคมไทยในยุคก่อน การจะอยู่ด้วยกัน ต้องผ่านการยินยอมของพ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย มีการจัดพิธี หรือมีการแสดงออกอย่างเป็นทางการว่าคู่หนุ่มสาวรักกัน และจะอยู่กันฉันท์สามีภรรยา หากคุณเลือกจะอยู่ก่อนแต่ง สายตาดูถูกดูแคลน หรือเสียงบ่นต่อว่าเป็นสิ่งที่คุณเลี่ยงไม่ได้


ชีวิตรักไม่มั่นคง
...เพราะสถานะทางกฎหมายของพวกคุณ คือ โสด! นั่นหมายถึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขนาดคู่แต่งงานหลายคู่ยังเสี่ยงต่อการนอกใจ แต่พวกคุณเป็นคู่รักที่เลือกจะอยู่กินด้วยกันเท่านั้นและปัญหาการหึงหวงมากมายจะตามมาทำให้คุณได้ปวดหัวไม่เว้นแต่ละวัน ถ้าคุณยังไม่พร้อมจะหยุดที่เขา หรือ เธอ จริงๆ ก็ไม่ควรจะอยู่ด้วยกัน


เสียประโยชน์ทางกฎหมาย
...เมื่อสามีภรรยาแต่งงาน และเลิกรากัน จะมีการแบ่งสินสมรส ค่าเลี้ยงดู ตามแต่ตกลงกัน แต่การที่คุณอยู่ด้วยกันก่อนแต่ง เลิกกันก็เป็นอันจบต่างคนต่างไป แล้วถ้าพวกคุณมีลูกด้วยกัน ผลเสียยิ่งตามมา โดยเฉพาะในฝ่ายหญิง


ประเด็นเรื่องลูก

...หากคุณอยู่ด้วยกันก่อนแต่ง ด้วยเหตุผลเรื่องการไม่พร้อมบางอย่าง แต่คุณเกิดมีลูกด้วยกัน คุณจะตัดสินใจอย่างไร หลายคู่ทำแท้ง หลายคู่ที่ยังเป็นนักเรียน นักศึกษา อนาคตต้องสะดุดหรือบางคนเลือกจะดูแลลูก โดยต้องหันไปพึ่งพาพ่อแม่ เพราะรับผิดชอบตัวเองก็แสนจะลำบากแล้ว ยังต้องมาดูแลอีก 1 ชีวิตที่ถือกำเนิดมาอีกด้วย

แม้ว่า ยุคสมัยจะเปลี่ยนไปอย่างไร แต่บางสิ่งที่ยึดถือไว้แล้วก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่า ก็ควรจะรักษาสิ่งนั้นไว้ การไกลไปตามกระแสสังคมไม่ได้แปลว่าคุณเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง หากคุณยังไม่พร้อมจะรับผิดชอบตัวเอง หรือผลลัพธ์ที่ตามมา อดทนอดกลั้นไว้สักนิด ก็คงไม่เสียหายครับ

ขอบคุณบทความจาก 
นิตยสาร CHONBURI108


ขอบรูปคุณภาพจาก 
newsfresh.net , healthandtrend.com