7 วิธีการนอนแบบพระอรหันต์ ที่คุณก็นำไปปฏิบัติตามได้

พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เกี่ยวกับ การนอน ว่า พระอรหันต์นอนเพียงวันละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น        เหตุที่พระอรหันต์นอนน้อยกว่าคนทั่วไป ก็เพราะท่านเป็นผู้ที่ละแล้วซึ่งกิเลส และมีสติอยู่เสมอทุกขณะตื่น จึงสามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ตามความเป็นจริง โดยไม่เผลอนำสิ่งกระทบต่าง ๆ มาปรุงแต่งให้เกิดเป็นอารมณ์ จึงไม่ต้องการเวลานอนมากนัก
         ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ยังรับรองด้วยว่า การทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ นับเป็นการจัดระเบียบคลื่นสมองที่มีประสิทธิภาพที่สุด และถือเป็นการผ่อนคลายเชิงลึก ที่สามารถชดเชยการหลับลึกได้ถึง 4 ชั่วโมง ด้วยเหตุนี้ สมองอันปราศจากข้อมูลขยะของพระอรหันต์ จึงไม่ต้องการช่วงเวลาหลับลึก เพื่อฟื้นฟูสภาพสมอง และจัดระเบียบเซลล์ประสาทมากเท่าคนทั่วไป
         ความพิเศษของการนอนอย่างพระอรหันต์ไม่ได้จบอยู่เพียงแค่เรื่องของเวลาเพียงเท่านั้น เพราะวิธีการนอนของท่านก็เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย
          พระพุทธเจ้าเคยตรัสถึงการบรรทมของพระองค์ไว้ว่า พระองค์บรรทมด้วยการสำเร็จ สีหไสยา ซึ่งแปลว่า การนอนอย่างราชสีห์ คือ การนอนตะแคงขวาอย่างมีสติสัมปชัญญะ ประกอบด้วยจิตอันบริสุทธิ์ สงัดแล้วจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายเป็นอุเบกขา ไม่ทุกข์ และไม่สุข อยู่ในสมาธิขั้นสูง (ฌาน4) ไม่มีความยินดีในการนอนหลับ และพร้อมจะลุกขึ้นอยู่เสมอ
อานิสงส์ของการหลับอย่างมีสติ
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอานิสงส์ของการหลับอย่างมีสติไว้ 5 ประการ ได้แก่
ทำให้หลับเป็นสุข
ทำให้ตื่นเป็นสุข
ทำให้ไม่ฝันร้าย
ทำให้เทวดารักษา
ทำให้มีสติไม่หลงใหลในกามซึ่งเกิดจากความฝัน
7 ขั้นตอนสู่การนอนอย่างพระอรหันต์
1.ลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงทันทีที่ตื่น อย่ามัวโอ้เอ้งัวเงีย พ่ายแพ้ให้ความขี้เกียจ เพราะการตื่นขึ้นเองโดยไม่มีใครปลุก เป็นการส่งสัญญาณให้คุณรู้ว่า สมองได้พักผ่อนเพียงพอแล้ว การนอนนานกว่านั้นจึงถือเป็นความขี้เกียจ
2.หมั่นเจริญสติ และฝึกสมาธิระหว่างวัน เพื่อจัดระเบียบสมองและลดการปรุงแต่งอารมณ์
3.หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้สมองและร่างกายตื่นตัวก่อนนอน เช่น การดูหนังแอ๊คชั่น การออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน การคิดเรื่องงาน ฯลฯ เพื่อให้ร่างกายพร้อมเข้าสู่การนอนอย่างสงบและมีสติ
4.นอนอย่างปล่อยวาง ทำจิตให้ว่างก่อนเข้านอน ด้วยการสะสางงาน และวางแผนสิ่งที่จะต้องทำในวันรุ่งขึ้นให้เรียบร้อย อาจวางกระดาษและดินสอไว้ข้างเตียง เพื่อจดสิ่งที่นึกขึ้นได้ จะได้ไม่ต้องคิดวนไปเวียนมาเพราะความกังวล
5.จัดระเบียบการนอน มีกำหนดเวลานอน และตื่นที่ชัดเจนเพื่อสร้างวินัยให้ร่างกาย
6.นอนในที่เย็น เงียบ และมืด ปราศจากแสงเสียง และสิ่งรบกวนที่จะทำลายสมาธิในการนอน
7.หลับไปด้วยจิตอันนิ่งสงบและเป็นกุศล แทนที่จะหลับไปอย่างเหนื่อยอ่อน เพราะคิดปรุงแต่งสารพันลองหันมาสงบสติ
             การนอนอย่างมีสติเป็นองค์ประกอบประการสำคัญที่ทำให้พระพุทธเจ้าทรงเป็น “ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน” อยู่ตลอดเวลาอย่างแท้จริง…เชื่อว่าคุณก็ทำได้เช่นกัน

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : winnews.tv และ goodlifeupdate.com

Share this

Related Posts