แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คอมพิวเตอร์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คอมพิวเตอร์ แสดงบทความทั้งหมด

เคล็ดลับการถนอมดวงตาเวลาใช้คอมพิวเตอร์


เคล็ดลับการถนอมดวงตาเวลาใช้คอมพิวเตอร์



สำหรับคนที่วันๆ ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ คงต้องเกิดอาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า หรืออาการทางสายตาอื่นๆ กันบ้าง ปัจจุบันอาการทางสายตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มีเพิ่มขึ้น จากสถิติพบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากกว่า 50% มีอาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า และปวดศรีษะ รวมทั้งมีอาการอื่นๆ เช่น ปวดเหมื่อยคอและหลัง ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน และยังมีตัวแปรอีกหลายประการที่ทำร้ายสายตาของเรา เช่น ชนิดของจอคอมพิวเตอร์ แสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ความสว่างของห้อง ท่านั่ง ฯลฯ


1. กระพริบตาให้ถี่ขึ้น อาการตาแห้ง เกิดจากการที่เรากระพริบตาน้อยลง เนื่องจากมีสมาธิขณะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกระพริบตาจะลดลงจาก 20 - 22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6 - 8 ครั้งต่อนาที ถ้าไม่อยากตาแห้ง ควรจะกระพริบตาให้ถี่ขึ้น หรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น



2. จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม
ให้บริเวณหน้าต่างอยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ ควรจัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50 - 70 ซ.ม. จัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 4 - 9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป

3. ปรับความสว่างของห้อง ควรปิดไฟบางดวงที่ทำการรบกวนการทำงาน เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสว่างที่มากเกินไป ถ้ามีแสงจ้าจากหน้าต่าง ควรใช้มูลี่เพื่อปรับแสงให้ผ่านได้เพียงบางส่วน และไม่เข้าตาโดยตรง หลีกเลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีผิวสะท้อน เช่น โต๊ะสีขาว ควรใช้วัสดุที่มีผิวด้าน ที่สะท้อนแสงไม่มากจะดีกว่า


4. เลือกใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ เวลาพิมพ์งาน ควรเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่พอ และปรับความเข้มของตัวอักษรให้มากขึ้น ซึ่งขนาดตัวอักษรและความเข้มที่เหมาะสมจะสังเกตได้จากการที่เราอ่านตัวอักษรได้ในระยะห่างเป็น 3 เท่าของระยะที่นั่งทำงาน หรือเลือกใช้จอคอมพวิเตอร์ชนิด LCD (จอแบน) ซึ่งจะช่วยถนอนสายตาได้ดีกว่าจอแบบเก่า (CRT)

5. เลือกใช้แว่นที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ ควรเลือกใช้เลนส์สีเขียวอ่อน ที่ช่วยให้สบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และเพื่อลดแสงสะท้อนจากจอภาพ โดยเลือกแว่นตาที่มีกำลังขยายสำหรับระยะ 50 - 70 ซ.ม. (ระยะกลาง) ซึ่งค่ากำลังของเลนส์ดังกล่าวจะแตกต่างจากเลนส์อ่านหนังสือ หรือเลนส์มองใกล้ทั่วไป


6. พักสายตา ทุกๆ ชั่วโมง ควรเปลี่ยนอริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อพักสายตาและป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน


ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : http://www.happyoppy.com
โรคต้อหินที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์

โรคต้อหินที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์


โรคต้อหินที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์


               โรคต้อหินชนิดเรื้อรัง เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างการใช้สายตา(Demand)และปริมาณเลือดแดงที่เข้ามาเลี้ยงเซลล์ประสาทตาภายในลูกตา(Supply) เมื่อเซลล์ประสาทตาได้รับเลือดมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจะค่อยๆ ทยอยเฉาตายลงไปเรื่อยๆ ความดันลูกตาที่สูงกว่าปกติ เป็นเพียงสาเหตุรองที่ต้านระบบไหลเวียนเลือด ทำให้ภาวะขาดเลือดดังกล่าวเลวลงไปอีก
  
               ในอนาคตประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคต้อหินเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสภาพเศรษฐกิจที่รัดตัว ผู้คนจะทำงานหนักมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สายตา บวกกับความเจริญทางด้านไอที ทำให้มีการใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้น และจะพบผู้ป่วยโรคต้อหินอายุน้อยลงเรื่อยๆ (จากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน การเล่นเกมส์ และการใช้อินเตอร์เน็ต) และเป็นกลุ่มของโรคต้อหินที่ไม่จำเป็นต้องมีค่าความดันลูกตาสูง ทำให้วินิจฉัยได้ยาก เหมือนในประเทศญี่ปุ่น ที่ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคต้อหินชนิดความดันลูกตาปกติมากที่สุดในโลก
  
               อาการของโรคต้อหิน มีความสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยรู้ตัวว่าเป็นต้อหิน และนำผู้ป่วยให้ไปพบจักษุแพทย์ ทำให้ได้รับการวินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น อาการของโรคต้อหิน มีอะไรบ้าง?
               1. ตาพร่า ตามัว เห็นภาพเบลอซ้อน หรือตามืดบอดชั่วขณะหนึ่ง
               2. เห็นจุดแสงดำขาวเต็มไปหมด หรือเห็นเป็นแสงระยิบระยับเมื่อมองไปกลางแดด
               3. ปวดในเบ้าตาลึกๆและปวดศีรษะข้างเดียวคล้ายไมเกรน หรือปวดจี๊ดขึ้นสมอง
               4. ตาจะพร่า เมื่อมองวัตถุบนพื้นที่มีแสงจัดหรือบนพื้นที่มันวาว
               5. อ่านหนังสือไม่ทน ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือดูโทรทัศน์ ได้ไม่นาน
               6. เห็นดวงไฟมีแสงเจิดจ้า เป็นรัศมีกระจาย เห็นเป็นฝ้าหมอกหรือวงสีรุ้ง รอบดวงไฟ
               7. เห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ หรือเห็นลำแสงวิ่งผ่านตา หรือเห็นเป็นเส้นหยักๆที่หางตา
               8. มีความลำบากในการสังเกตุพื้นต่างระดับเวลาก้าวเดิน หรือเวลาขึ้นลงบันได
               9. เห็นสีจืดจางลงหรือผิดเพี้ยนไป เห็นตัวหนังสือเลือนรางหรือแตกพร่า
               10. การมองในที่มืดแย่ลง เห็นหน้าคนไม่ชัด และไม่กล้าขับรถในเวลากลางคืน
               11. เวลาขับรถลงอุโมงค์ลอดทางแยกหรือเดินเข้าที่ร่มในเวลาแดดจัด ตาจะมืดบอดชั่วขณะ
               12. เวลามองผ่านกระจกหน้ารถในทิศทางย้อนแสงอาทิตย์ ตาจะพร่าและสู้แสงไม่ค่อยได้
               13. เวลากลางคืนมักจะเดินชนข้าวของเป็นประจำ ชอบที่จะเปิดไฟทุกดวงเท่าที่มี
               14. มองสิ่งที่เคลื่อนที่เร็วๆไม่ทัน ทำให้ไม่มั่นใจเวลาขับรถหรือเดินข้ามถนนคนเดียว
               15. ตาสู้แสงไม่ได้ ต้องใส่แว่นดำเป็นประจำ
               16. เห็นแสงมืดลงไปเรื่อยๆ หรือเห็นเป็นหมอกควันอยู่ทั่วๆไป
               17. ลานสายตาแคบเข้ามาเรื่อยๆ จนระยะท้ายเหมือนมองผ่านท่อกลม


ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : http://guru.sanook.com