OSI 7 Layer มีอะไรบ้าง และมันคืออะไร??
แบบจำลองโอเอสไอ (อังกฤษ: Open Systems Interconnection model: OSI model) (ISO/IEC 7498-1) เป็นรูปแบบความคิดที่พรรณนาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสารโดยแบ่งเป็นชั้นนามธรรม และโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO)
แบบจำลองนี้จะทำการจับกลุ่มรูปแบบฟังก์ชันการสื่อสารที่คล้ายกันให้อยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่งในเจ็ดชั้นตรรกะ ชั้นใดๆจะให้บริการชั้นที่อยู่บนและตัวเองได้รับบริการจากชั้นที่อยู่ด้านล่าง ตัวอย่างเช่นชั้นที่ให้การสื่อสารที่ error-free ในเครือข่ายจะจัดหาเส้นทางที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันชั้นบน ในขณะที่มันเรียกชั้นต่ำลงไปให้ส่งและรับแพ็คเก็ตเพื่อสร้างเนื้อหาของเส้นทางนั้น งานสองอย่างในเวลาเดียวกันที่ชั้นหนึ่งๆจะถูกเชื่อมต่อในแนวนอนบนชั้นนั้นๆ ตามรูปผู้ส่งข้อมูลจะดำเนินงานเริ่มจากชั้นที่ 7 จนถึงชั้นที่ 1 ส่งออกไปข้างนอกผ่านตัวกลางไปที่ผู้รับ ผู้รับก็จะดำเนินการจากชั้นที่ 1 ขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 7 เพื่อให้ได้ข้อมูลอันนั้น
- Application Layer ข้อมูลมีหน่วยเป็น message เป็นชั้นที่พูดเกี่ยวกับเรื่องจะทำในเรื่องอะไร กำหนดกติกา Algorithm เป็นอย่างไร ให้ทำเรื่องอะไร จะอยู่ในชั้นนี้ เช่น ในการดูเว็บก็ยังต้องมีการตกลงใน Application Layer กติดานั้นคือ HTTP ไม่ใช่ HTML HTML นี่คือ ภาษาในการ Present จิงจะอยู่ในชั้น Presentation Layer ถ้าเครื่อง Server กับ Client 2 เครื่อง 2 OS รู้จักกติกาในชั้นนี้ (HTTP) ทั้ง 2 ฝั่งก็ทำงานร่วมกันได้
- Presentation Layer ข้อมูลมีหน่วยเป็น message มีหน้าที่แปล, Encrypt, บีบอัด Data, ตกลง Data type, Data Structure ให้ตรงกัน เพื่อให้แสดงผลให้เข้าใจกันว่าหน้าตาของข้อมูลเป็นอย่างไร เช่น อุปกรณ์ต่างยี่ห้อกัน ตงลงในชั้น Presentation Layer ได้ก็สามารถแสดงผลได้เหมือนกัน
- Session Layer ถ้าเปรียบกับการเปิดประตู จะให้ประตูเปิด วิธีการเปิดประตูคือ Application Layer (วิธีคือ 1.ไปมองหาคำว่า Pull ที่ประตู 2. เอามือจับ 3.ดึงประตู เหล่านี้ Algorithm ซึ่ง Application Layer จะทำ) ส่วน Presentation เปรียบเหมือนคำว่า Pull ที่เขียนไว้อยู่ คำนี้เป็นภาษาอังกฤษ เราอ่านอออก อ่านเข้าใจอันนี้คือเรามี Data type ที่ตรงกันจึงเข้าใจได้ แต่ถ้าเขียนเป็นภาษาอื่น อิตาลี สเปน อันนี้เราทำงานให้ไม่ได้ เราไม่เข้าใจ ถ้าไทยหรือ Eng อันนี้ได้เลย เมื่อเห็นเราเข้าใจทำตามได้ มาถึงหน้าที่ของ Session Session จะเป็นขั้นตอนก่อนที่จะถึงประตู ประมาณว่า มายืนถึงหน้าประตูแล้ว กำลังจะเริ่มเปิดประตู กระบวนการในขั้น Session นั้นจะกินยาวไปตั้วแต่ เริ่มทำ ระหว่างที่ทำ และก็สิ้นสุดการทำงานมองในอีกแบบหนึ่งเปรียบเทียบกับโปรแกรม Remote เมื่อเราจะเริ่ม Remote เครื่อง เริ่มการเชื่อต่อ ต่อมาเมื่อเข้าได้แล้วก็ทำงานต่างๆ เสร็จแล้วทำการ Disconnect อันนี้น่าจะเห็นชัดเจนกว่า หน่วยข้อมูลในชั้นนี้เป็น Segment
- Transport Layer เป็นการกำกับต้นทางและปลายทางปลายทางผ่าน port เป็นเสมือนบริษัทขนส่งเมื่อมีการส่ง message ไม่ครบ ก็จะส่งให้ใหม่ให้ครบ รอยต่อระหว่าง network layer กับ Application layer จะต้องผ่านเบอร์ port เวลาเราใช้ HTTP มันก็จะมีการถามว่าผ่าน port ไหน ตัวนึงที่เห็นบ่อยๆคือ TCP (Transport Control Protocol) ก็จะมาดูแลให้
- Network Layer การขับรถข้ามจังหวัดต้องตกลงเรื่องอะไร? ชื่อถนน, หาเส้นทางที่ไวที่สุด
ในปัจจุบันมีโปรโตคอลเดียวที่ใช้กันคือ Internet Protocol (IP) ซึ่งชื่อถนนในที่นี้ที่สมมุติไว้ก็คือ IP Address ส่วนเส้นทางที่จะไปไวที่สุดก็เช่น OSPF, RIP แต่จริงๆแล้วฐานมันเป็น Algorithm อย่างหนึ่งในชั้นนี้ข้อมูลเป็น Packet
- Datalink Layer เป็นการนำ Data แต่ละบิตมารวมเป็น Frame เป็นกล่องเป็น Informaion สมมุติน้ำเป็น Data เราจะส่งน้ำเปล่าๆไปให้เพื่อนไม่ได้ ต้องนำมาบรรจุกล่อง คือในชั้นนี้ และเมื่อบรรจุกล่องจะต้องมีอะไรเพื่อรับรองหละ ต้องมีการแปะว่า มาจากใคร(Mac address) และก็บอกว่าปลายทางเป็นใคร ในชั้นนี้ไม่ใช่ส่ง Data อย่างเดียว Network Adapter ก็อยู่ในชั้นนี้เพราะมันมี Mac address และใช้ส่งข้อมูล (Ethernet, Wi-Fi 802.11 ต่างๆ)
- Physical Layer ในการติดต่อสื่อสารการตกลงในชั้นนี้ เป็นการคุยกันทีละบิต 1,0 ที่ตกลงกันระหว่าง host ต้นทางกับปลายทาง โดยผ่านช่องทางที่กำหนด(วิ่งผ่านสายไฟ)
ขอบคุณแหล่งข้อมูล,รูปภาพจาก : www.gargasz.info , วิกิพีเดีย